พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระมหากษัตริย์ไทยกับไก่ชน
ไก่ชนในเมืองไทย ในอดีต พันธุ์ ไก่ชน ไทยเป็น “ มรดกของไทย “ มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือพันธุ์ “ ประดู่หางดำ ” และ “ เหลืองหางขาว ” ในสมัยกรุงสุโขทัย ไก่ชนประดู่หางดำพันธุ์แสมดำ ได้ชื่อว่า “ ไก่พ่อขุน ” เนื่องจากว่าเป็นไก่ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงโปรด สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำ “ ไก่เหลืองหางขาว ” จากบ้านกร่าง เมืองพิษณุโลก ไปชนชนะไก่ของพระมหาอุปราชาที่กรุงหงสาวดี ไก่พันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงกัน ตามซุ้มที่เลี้ยง ไก่ชน มักจะมี ไก่ชนเหลืองหางขาว เลี้ยงไว้เพื่อเป็นไก่นำโชค และนิยมเรียกชื่อว่า “ ไก่เจ้าเลี้ยง ”ทั้งนี้ได้สืบค้นและทราบมาว่าเหตุที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงชื่นชอบไก่เทานั้นมีเรื่องราวที่ปรากฏเด่นชัดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๘ จึงถือได้ว่าไก่เทาทองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นไก่มงคลและสวยงาม ที่ท่านพระราชทานให้บ้านปากพิง ทั้งยังชนเก่งเหมือนไก่เหลืองหางขาวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ลักษณะมีความคล้ายกันทุกอย่างยกเว้นขนที่ลำตัวจะเป็นสีเทา ตามตำราไก่ชนบอกว่าไก่เทาทองนั้นเป็นไก่ลักษณะดี เลี้ยงแล้วเป็นมงคล ดังนั้น ถึงแม้ในอดีตบ้านปากพิงจะมีสายพันธุ์ไก่สีเทาที่ยังเหลือรอดชีวิตเลี้ยงอยู่ใต้ถุนบ้านของทุกครัวเรือน แต่ปัจจุบันมีเหลือให้เห็นน้อยมาก จนต้องมีการอนุรักษ์ไก่สายพันธุ์เทานี้เอาไว้เพื่อรำลึกถึงบุญคุณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเหล่าบรรพบุรุษที่เคยปกป้องบ้านปากพิงเอาไว้จากพม่า
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระนเรศวรมหาราช
พระเจ้าตากสินมหาราช
ส
ไก่ประดู่หางดำเป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม แถบสุพรรณบุรีสิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ฉะเชิงเทรา มีนบุรี และหนองจอก เป็นแหล่งกำเหนิดไก่ประดู่หางดำชั้นดี จากประวัติศาสตร์ไก่ประดู่หางดำโด่งดังในสมัยพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ได้ทรางนำไก่ประดู่หางดำจากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพาร และทรง ชนะมาตลอด ปัจจุบันเป็นที่นิยมเลี้ยงแพร่หลายไปทั่วประเทศและต่างประเทศในแถบ เอเชีย เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย บรูไน เป็นต้น
มีลักษณะเด่น คือ ไก่ประดู่หางดำ มีรูปร่างสูง บึกบึน หน้าอกกว้าง ลำตัวยาวจับ 2 ท่อน และลำตัวลึก ใบหน้ากลมยาว ผิวเรียบแบบหน้ากา ปากใหญ่ รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ ขอบตาเป็นรูปวงรี คิวนูนเรียบตามข้าง รูหูกลมมีขนปิด และมีสีเขียวอมดำ คอใหญ่ยาวระหง กระดูกป้องคอชิดแน่น ลำคอโค้งเป็นรูปเคียว ขนสร้อยคอขึ้นเรียบเป็นระเบียบ ปีกยาว สนับปีกใหญ่ ปีกเป็นลอนเดียวสีดำ หางพัดและหางกระรวยสีดำสนิท หางพัดเรียงกันเป็นแวจากล่างขึ้นบนตามลำดับ ส่วนหางกระรวยดกยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางแข็งปลายหางชี้ตรง กระเบนหางคอดรัด ขั้วหางใหญ่และชิดแข้งเรียบเป็นแถวยาวปิดตลอดนิ้วเรียวยาว เดือยแบบขนเม่นและงาช้างเดือยแหลมคม สีขนพื้นตัวหน้าคอ
หน้าท้องใต้ท้อง ใต้ปีกเป็นสีดำตลอด และขนหางพัดและหางกระรวยมีสีดำสนิท ส่วนสีขนสร้อยคอ สร้อยปีกสร้อยหลัง และระย้ามีสีน้ำตาลอมดำหรือสีเม็ดมะขาม
ขอบคุณแหล่งที่มาhttps://home.kku.ac.th/ncab/pradu.php
ไก่เหลืองหางขาว ตามประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชาเป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จึงชนชนะ จนได้รับสมญานามว่า “เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง” คือ ไก่พื้นเมืองของไทยสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์กะตังอู หรือไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ใครใคร่ทำอะไรก็ได้ ก็นำไก่มาเล่นชนไก่ จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่กระจายกันสู่หมู่ขุนนาง เจ้าขุน เจ้านาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นกีฬาพระราชา เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้นไก่เหลืองหางขาวจึงมีชื่อเสียงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไก่เจ้าเลี้ยง” และ “ไก่พระนเรศวร” ซึ่งปัจจุบันชาวพิษณุโลกมีความภาคภูมิใจ และหวงแหนในสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์นี้มาก จึงมีการอนุรักษ์และพัฒนาไก่สายพันธุ์นี้มาโดยตลอด ในประเทศที่มีกีฬาชนไก่จะรู้จักไก่ไทยเหลืองหางขาวเป็นอย่างดี ไก่เหลืองหางขาว ถือเป็นพันธุ์ ไก่ชนไทย ที่เริ่มกล่าวขาล และถูกบันทึกไว้ครั้งแรก และถือเป็นสายพันธุ์ต้นตระกูลของพันธุ์ไก่ชนใหม่ๆหลายสายพันธุ์ มีลักษณะเด่น คือ ไก่ชนตัวผู้จะมีขนสร้อยต่างๆเป็นสีเหลือง หางแนบชิด สลวย โคนปีกหาง และกลางหางมีสีขาวปลอด ส่วนปลายหางมีสีดำ โดยมีขนขาวแซมเล็กน้อยอยู่ 3 จุด คือ
ส่วนพื้นตัว มีสีดำตลอดทั้งตัว ส่วนสีของปาก สีแข้ง สีเล็บ และสีเดือย จะมีสีขาวอมเหลือง คล้ายกับสีงาช้าง จะงอยปากด้านบนมีร่องน้ำ ดวงตามีสีเหลืองอ่อน และใส ส่วนนัยน์ตาขาวสามารถมองเห็นเส้นเลือดแทรกอยู่ได้ชัดเจน เรียกว่า “ตาปลาหมอ” ส่วนไก่ตัวเมียมีลักษณะ คล้ายตัวผู้ แต่หางจะมีสีดำตลอด และปลายขนพื้นลำตัวมักมีสีขาวเล็กน้อย ส่วนสีของปาก สีแข้ง สีเล็บจะมีสีคล้ายไก่ชนตัวผู้
ไก่ชนเทาทองหางขาว
สมัยอยุธยาตอนปลาย ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยังเป็นเพียงเจ้าเมืองตากนั้น พระองค์ได้เข้าร่วมวงดูการท้าชนไก่ระหว่างไก่เขียวหางดำที่ชื่อว่า “พาลี” ของหลวงพิชัยอาสา (พระยาพิชัยดาบหัก) ซึ่งเป็นทหารคู่ใจกับไก่โทนเถ้าของหลวงเมืองตากหรือพระยาพระคลัง ไก่โทนเถ้าที่ว่านี้มีสีเทาทองหรือเทาเหลือง เป็นไก่ที่เก่งและมีชั้นมีเชิงดี ชนชนะไก่มาแล้วหลายตัวจึงเป็นที่เลื่องลือในเมืองตากจนไม่มีใครอยากมาชนด้วย ไก่เทาทองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นชื่อเรียกของคนบ้านปากพิง แท้จริงแล้วผู้ชื่นชอบไก่ชนทั่วไปเรียกว่า “ไก่เทาทองหางขาว” เป็นไก่ที่มีรูปร่างสวยสง่า ยืนหน้าอกเชิด ยกหัวยกปีก ลำคอยาวระหง ลำตัวกลมจับเป็นสองท่อน ใบหน้าสวยงามคมสันคล้ายนกเหยี่ยว ปากใหญ่งองุ้มและคมกริบ มีหงอนที่จัดอยู่ในจำพวกหงอนหิน หน้าหงอนจะบาง กลางหงอนจะสูง ส่วนปลายหงอนจะยาวเลยลูกตา จัดได้ว่าเป็นไก่ที่มีลักษณะดี จึงถือได้ว่าไก่เทาทองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นไก่มงคลและสวยงาม ที่ท่านพระราชทานให้บ้านปากพิง ทั้งยังชนเก่งเหมือนไก่เหลืองหางขาวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ลักษณะมีความคล้ายกันทุกอย่างยกเว้นขนที่ลำตัวจะเป็นสีเทา ตามตำราไก่ชนบอกว่าไก่เทาทองนั้นเป็นไก่ลักษณะดี เลี้ยงแล้วเป็นมงคล ดังนั้น ถึงแม้ในอดีตบ้านปากพิงจะมีสายพันธุ์ไก่สีเทาที่ยังเหลือรอดชีวิตเลี้ยงอยู่ใต้ถุนบ้านของทุกครัวเรือน แต่ปัจจุบันมีเหลือให้เห็นน้อยมาก จนต้องมีการอนุรักษ์ไก่สายพันธุ์เทานี้เอาไว้เพื่อรำลึกถึงบุญคุณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเหล่าบรรพบุรุษที่เคยปกป้องบ้านปากพิงเอาไว้จากพม่า
มีลักษณะเด่น คือ“ไก่เทาทองหางขาว” เป็นไก่ที่มีรูปร่างสวยสง่า ยืนหน้าอกเชิด ยกหัวยกปีก ลำคอยาวระหง ลำตัวกลมจับเป็นสองท่อน ใบหน้าสวยงามคมสันคล้ายนกเหยี่ยว ปากใหญ่งองุ้มและคมกริบ มีหงอนที่จัดอยู่ในจำพวกหงอนหิน หน้าหงอนจะบาง กลางหงอนจะสูง ส่วนปลายหงอนจะยาวเลยลูกตา จัดได้ว่าเป็นไก่ที่มีลักษณะดี
ชอบคุณแหล่งที่มาhttps://home.kku.ac.th/ncab/pradu.php